ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

TVC - มหกรรมวิทยาศาสตร์ 2554



มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2554

นายมานพ อิสสะรีย์ รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ, นายเกษม พิฤทธิ์บูรณะ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ, ดร.พิชัย สนแจ้ง ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ, ดร. พรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, นางสาวคะนึงนิจ (รถเมล์) จักรสมิทธานนท์ พิธีกรงานแถลงข่าว,  นายอนันต์ รุ่งพรทวีวัฒน์ นักบริหารพิเศษสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย,  นายธนากร พละชัยรีย์ รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ และนายสาคร ชนะไพฑูรย์ รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) โดย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) แถลงข่าวความยิ่งใหญ่และความพร้อมของการจัดงาน “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2554” (National Science and Technology Fair 2011) ที่รวบรวมสุดยอดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งปี ภายใต้แนวคิด ‘จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์’ บนพื้นที่ 42,000 ตารางเมตร เต็มพื้นที่ไบเทค บางนา ระหว่างวันที่ 6 – 21 สิงหาคม 2554 รองรับผู้เข้าชมงาน นักเรียน เยาวชน ครอบครัว และประชาชนทั่วประเทศกว่า 1,200,000  คน  พร้อมดึง 3 นักแสดงดาวรุ่ง หนุ่มอ๋อม อรรคพันธ์ นะมาตร์, เก้า จิรายุ ละอองมณี และสาวสวยวัยใส ญาญ่า อุรัสยา เสปอร์บันด์ เป็นพรีเซนเตอร์ตัวแทนคนรุ่นใหม่ที่มาช่วยกันจุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์แก่เยาวชนไทย

ดร. พรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2554 จัดขึ้นเนื่องในสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” และ ”พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” เป็นกิจกรรมที่ยิ่งใหญ่แห่งปีในการแสดงผลงานความก้าวหน้า

 



 

และศักยภาพทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่ทันสมัยของประเทศไทย  โดยการผนึกกำลังร่วมกันของ 7 กระทรวง 8 ประเทศ มากกว่า 100 หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ กระทรวงกลาโหม กระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพลังงาน และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  และปีนี้ยังได้รับความร่วมมือจากมากกว่า 15 หน่วยงานจากต่างประเทศเข้าร่วมจัดกิจกรรมแสดงความก้าวหน้าและเทคโนโลยี ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รัสเซีย สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมัน และสหรัฐอเมริกา  เพื่อกระตุ้นความสนใจแก่นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสริมสร้างแรงบันดาลใจแก่เยาวชนที่ต้องเติบโตและเป็นแรงสำคัญของประเทศในวันข้างหน้า รวมถึงการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

ในปีนี้ ความยิ่งใหญ่สมคำว่า “มหกรรม” ด้วยการร่วมฉลองปีเคมีสากล (International Year of Chemistry) และปีป่าไม้สากล (International Year of Forests)   โดยจัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  การมอบรางวัลพระราชทานนักวิทยาศาสตร์ไทยดีเด่น  การประกวดและแข่งขันทางวิทยาศาสตร์ การประชุม สัมมนา และการแสดงสินค้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  พร้อมการนำเอาเทคโนโลยีและมัลติมีเดียใหม่ๆ มาใช้ในการจัดแสดง เพื่อสร้างประสบการณ์ เปิดมุมมองการเรียนรู้ผ่านสื่อ Interactive กับนิทรรศการรูปแบบ 3D ภาพยนตร์สามมิติ และ 4D Simulator เพื่อสร้างความสุข สนุกสนาน และเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมหกรรมวิทย์ฯ ในปีนี้ มีการดำเนินการปรับปรุงรูปแบบการจัดแสดงนิทรรศการที่ทันสมัย และกิจกรรมที่จัดขึ้น

 


 


สำหรับทุกเพศทุกวัยได้ร่วมสนุก และทดลอง โดยมีนิทรรศการและกิจกรรมเด่นๆ ไม่ควรพลาด อาทิ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ (Royal Pavilion) เสนอพระวิสัยทัศน์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” ที่ทรงวากรากฐานการพัฒนาวิทยาศาสตร์ไทย และเทิดพระเกียรติพระอัจฉริยภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย และ พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” ที่ทรงพระราชทานหลักคิดสู่หลักปฏิบัติพัฒนาประเทศบนวิถีพอเพียง รวมถึงพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ  และพระบรมวงศานุวงศ์

นิทรรศการหลัก ที่ให้ความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นในสังคม และเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันทั้งในปัจจุบันและอนาคต อาทิ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก (Climate Change) สัมผัสประสบการณ์เสมือนอยู่ท่ามกลางภูเขาน้ำแข็ง เพื่อเรียนรู้และสำรวจขั้วโลกในการไขความลับบรรยากาศโลกในร้อยล้านปีที่ผ่านมา พร้อมชมภาพยนตร์ 4 มิติ (4D Simulator) ที่สามารถสัมผัสภาพ รส กลิ่น เสียง และความรู้สึกตื่นเต้น ลุ้นระทึกแบบลืมไม่ลงตลอดเส้นทาง   มหัศจรรย์แห่งเคมี (Chemistry) พบกับเมืองเคมีมหาสนุก ที่มีปรากฏการณ์และสถานีการทดลองที่ตื่นเต้น สนุกสนาน และการแสดงโชว์ทางเคมีที่ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ได้ดั่งมายากล เทคโนโลยีพลังงานทางเลือก (Alternative Energy) รู้ลึกรู้จริงกับวิกฤติพลังงาน เรียนรู้เทคโนโลยีพลังงานทางเลือก และแหล่งพลังงานในรูปแบบต่างๆ พร้อมการนำไปใช้  น้ำ..คุณค่าแห่งชีวิต (Water) รู้เรื่องน้ำในหลากหลายมุมมอง สนุกกับการเล่นน้ำเพื่อเรียนรู้คุณสมบัติและพฤติกรรม รู้จักกับวิกฤตน้ำ และต้นทุนการผลิตน้ำ นำเสนอผ่านม่านน้ำขนาดใหญ่ และมัลติเธียเตอร์   เทคโนโลยีเพื่อผู้สูงอายุและผู้พิการ (Technology for Elder and Disabled) เรียนรู้ความหมาย และความเข้าใจผ่านประสบการณ์ในบ้านแห่งความเท่าเทียม พร้อมพบกับนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อผู้พิการฝีมือคนไทยและต่างประเทศ และกิจกรรมสำหรับเยาวชน ได้แก่ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ลานกิจกรรมพัฒนาปัญญาเยาว์ ลานกิจกรรมประกวดแข่งขัน ห้องฉายภาพยนตร์วิทยาศาสตร์

 



 

ดร. พิชัย สนแจ้ง ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ในฐานะผู้ดำเนินการจัดงานครั้งนี้ กล่าวตอกย้ำถึงความพร้อมในการบริหารจัดการและการเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้านสำหรับการรองรับผู้เข้าชมที่มีจำนวนมากกว่า 1 ล้านคนในแต่ละปี ได้แก่ ความพร้อมของสถานที่และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ระบบจราจรภายในสถานที่ การรักษาความปลอดภัยและการปฐมพยาบาล การต้อนรับและจัดคิวลำดับชมงาน พร้อมเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ในการดูแลและอำนวยความสะดวกแก่นักเรียน เยาวชน และผู้เข้าเยี่ยมชมงานที่มาเป็นหมู่คณะ โดยเฉพาะในปีนี้ ทาง อพวช. ได้ดำเนินการด้านการตลาดล่วงหน้าโดยการเชิญไปยังโรงเรียนกว่า 40,000 โรงเรียนทั่วประเทศ และขณะนี้มียอดจองเข้าชมงานเป็นหมู่คณะ แล้วประมาณ 500,000 คน และคาดว่าในปีนี้จะมีผู้เข้าชมตลอดการจัดงานไม่น้อยกว่า 1.2 ล้านคน นั่นแสดงถึงผลสำเร็จในการจัดงานที่ผ่านมาเป็นที่สร้างความประทับใจแก่ผู้ที่ได้เข้าชมงาน และส่งผลให้ยอดจองเข้าชมงานในปีนี้ มีจำนวนมากที่สุดเท่าที่จัดงานมา

ดร. พรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวทิ้งท้ายอย่างมั่นใจว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และทุกหน่วยงานพร้อมแล้ว ที่จะนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จัดแสดงแก่ประชาชนทุกคน โดยเฉพาะการที่จะกระตุ้นและสร้างบันดาลใจแก่เยาวชนไทย ในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นรากฐานสำคัญต่อการใช้ชีวิตและการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า

เยาวชน ครอบครัว และประชาชนทั่วไป สามารถเข้าชมงาน “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2554” ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันที่ 6 - 21 สิงหาคม 2554 เวลา 09.00 - 20.00 น. (ยกเว้นวันที่ 9 สิงหาคม) ที่ไบเทค บางนา  และพบกับ 3 พรีเซนเตอร์ของงาน อ๋อม อรรคพันธ์, เก้า จิรายุ และญาญ่า อุรัสยา ได้ภายในงาน ติดตามข้อมูลข่าวสารและรายละเอียดงานได้ที่ www.nsm.or.th/nst2011

 



เปิดงานด้วยการแสดง Bubble Show




Bubble Show หนึ่งในไฮไลท์ที่จะจัดแสดงภายในงาน





ดร.พรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี





ตัวต่อเลโก้ - ตึกลูกเต๋าขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ










Ten To Twelve - ชิด (Close) Official MV ( ชอบเพลงนี้')


♥ ชิด ชิด ชิด >///<

*เขยิบเข้าไป ชิด ชิด ชิด ชิด ชิด ชิดดูสักที
ได้ก็ได้แต่ คิด คิด คิด คิด คิด คิดอยู่ตอนนี้
อยากจะเข้าไปรู้จักเธอ ใกล้กับเธอ
อยากให้เธอได้รู้
เลยแอบมา ชิด ชิด ชิด ชิด ชิด ชิดเธอคนดี

ป้ายไฟ

ป้ายไฟ น่ารักๆ ลองทำดู!  คลิ๊กลิงค์แล้วลองทำเล้ยย  ;P

ตำนานเรือปีศาจ The Flying Dutchman


Click the image to open in full size.


เรือฟลายอิ้ง ดัทช์แมน (Flying Dutchman) หรือในภาษาดัทช์เรียกว่า “De Vliegende Hollander” เชื่อกันว่าเป็นเรือปีศาจที่จะร่อนเร่ไปตามน่านน้ำ จนกว่าจะถึงวันสิ้นสุดของโลก มักจะมาปรากฏตัวให้ผู้คนได้เห็นบ่อยในบริเวณแหลมกู๊ด โฮป (Cape of Good Hope) ว่ากันว่าจะมีแสงเรืองที่น่ากลัวออกมาจากเรือและมีกั ปตันเรือผู้ซึ่งแต่งกายแบบยุคสมัยเก่ายืนคุมเรืออยู่ พร้อมกับส่งเสียงอันโหยหวนน่าขนหัวลุกออกมา
มีเรื่องเล่าอยู่สองเรื่องที่เกี่ยวกับตำนานของเรือลำนี้ เรื่องแรกเป็นเรื่องของกัปตันเรือ ที่ไม่นับถือศาสนา และไม่เชื่อในพระเจ้า จึงถูกพระองค์พิพากษาลงโทษ อีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับนักเดินเรือที่ชื่อ เบอร์นาร์ด โฟคค์ ซึ่งให้สัญญากับปีศาจว่า ถ้าช่วยให้เขาเดินทางไปถึง อีสต์อินดีส ภายในเวลา 90 วัน เขาจะยอมตกอยู่ในอาณัติของมัน ทั้งสองเรื่องนี้ว่ากันว่าเป็นเหตุผลที่ทำไมเรือ Flying Dutchman จึงต้องระหกระเหินอยู่ในทะเลชั่วกาลนิรันดรเรื่องเกิดขึ้นเมื่อสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 เรือ Flying Dutchman เป็นของ Dutch East India Company เป็นเรือบรรทุกสินค้า และมีกัปตันชาวดัทช์ที่ชื่อ Van Der Decken ว่ากันว่าเขาเป็นคนที่มีจิตใจโหดเหี้ยม และเป็นคนไม่มีศาสนา ไม่นับถือพระเจ้าในปี ค.ศ. 1680 กัปตัน Van Der Decken ได้พาเรือFlying Dutchman ของเขา พร้อมลูกเรือไปยังดินแดนทางฝั่งตะวันออก และในขณะที่เขากำลังพาเรือกลับไปยังประเทศฮอลแลนด์นั ้น ได้เกิดพายุพัดกระหน่ำรุนแรง กัปตันได้พยายามต่อสู้กับพายุที่บ้าคลั่งอยู่นานเป็น ชั่วโมง จนพายุได้พัดเรือของเขาออกนอกเส้นทางไป และได้ไปชนกับหินโสโครก จึงทำให้ตัวกัปตันและลูกเรือของเขาจมสู่ก้นมหาสมุทรแ ละเสียชีวิตทั้งหมด ทุกคนเชื่อว่าพายุลูกนั้นเกิดจากการที่พระเจ้าได้พิพ ากษาลงโทษกัปตัน Van Der Decken และเรือลำนั้น เล่ากันว่าระหว่างที่กัปตันกำลังพยายามต่อสู้กับพายุ อยู่นั้น เขาได้ตะโกนออกมาว่า “I will round this Cape even if I have to keep sailing until doomsday!” แปลว่า “ข้าจะวนเวียนอยู่บริเวณแหลมนี้ ถึงแม้ว่าข้าจะต้องล่องเรือจนถึงวันสิ้นสุดของโลกก็ต าม”



แหลม Good Hope

แต่ตำนานยังไม่จบสิ้นแค่นี้ เมื่อเรือ Flying Dutchman ได้ปรากฏให้ผู้คนได้พบเห็นหลายครั้งในปี ค.ศ. 1881 คนประจำเรือของพระเจ้าจอร์จที่ 5 ได้เห็นเรือ Flying Dutchman ปรากฏขึ้นทางด้านหัวเรือ และหลังจากนั้นไม่กี่วัน คนประจำเรือคนนั้นก็เสียชีวิตจากการพลัดตกเสากระโดงเ รือในปีเดียวกันนั้น เรือสินค้าสัญชาติสวีเดนได้แล่นผ่านบริเวณที่เรือ Flying Dutchman จม คนประจำเรือบนเสากระโดงได้มองเห็นเรือ Flying Dutchman และในตอนนั้นเขาก็พลัดตกลงมาจากเสากระโดงทันที ก่อนที่จะเสียชีวิตเขาได้บอกว่าได้เห็นเรือ Flying Dutchmanกัปตันจึงได้ส่งคนขึ้นไปดูอีกที แต่ผ่านมาอีกสองวันเขาก็ได้เสียชีวิตลงอีกคนหลายปีต่อมา เรือ Relentless สัญชาติอเมริกาได้แล่นผ่านบริเวณแหลมกู๊ดโฮป กัปตันได้เห็นเรือ Flying Dutchman จึงสั่งให้นายท้ายเรือหันหัวเรือไปทางนั้น เพื่อที่จะเข้าไปดูอย่างใกล้ชิด แต่ทว่านายท้ายเรือก็ไม่ได้ทำตามคำสั่ง กัปตันจึงไปตรวจดูและพบว่านายท้ายเรือได้เสียชีวิตแล ้ว และในคืนนั้นคนประจำเรือก็ได้หายตัวไปจากเรือถึงสามค นยังมีตำนานเล่าขานมาอีก เกี่ยวกับการพบเห็นเรือ Flying Dutchman
  • ในปี ค.ศ. 1911เรือ Orkney Belle กำลังเดินทางผ่านบริเวณแหลมกู๊ดโฮป และก็ได้มีรายงานว่าพบเห็นเรือ Flying Dutchman
  • ในปี ค.ศ. 1939 มีคนกว่า 60 คน เห็นเรือ Flying Dutchman แล่นออกจากชายหาดผ่านพวกเขาไป และแล่นหายออกไปในความมืด
  • ในปี ค.ศ. 1942 ผู้บังคับการเรือดำน้ำ U boats พลเรือตรี Karl Doenitz แห่งราชนาวีเยอรมัน ได้บันทึกในปูมเรือว่าพบเรือ Flying Dutchman แล่นผ่านเรือของเขาไป
  • ในปี ค.ศ. 1942 ผู้บังคับการเรือ Nicholas Monsarrat แห่งเรือรบหลวง H.M.S. Jubilee ได้พบเรือ Flying Dutchman และได้พยายามส่งสัญญาณไปยังเรือนั้น แต่ไม่มีสัญญาณใดๆ ตอบกลับมา เขาได้บันทึกไว้ในปูมเรือว่าพบเรือใบไม่ทราบประเภทชั ้นเรือแล่นผ่านไปทั้งๆที่ไม่มีกระแสลมพัดอยู่เลย
  • ในปี ค.ศ. 1943 ชาวบ้าน 4 คนในเมือง Cape Town ได้เห็นเรือ Flying Dutchman แล่นหายไปทางด้านหลังของเกาะ
  • ในปี ค.ศ. 1959 กัปตันเรือ Staat Magelhaen พบว่าเรือกำลังจะพุ่งชนเรือ Flying Dutchman แต่พอเรือเข้าใกล้กำลังจะชนปรากฏว่าเรือ Flying Dutchman ก็ได้หายไปในทันที
และยังมีอีกหลายครั้งที่เกิดพายุกระหน่ำรุนแรง บริเวณประภาคาร Cape light house มีบันทึกรายงานว่าได้พบเจอเรือ Flying Dutchman มาปรากฎให้เห็น



วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ชอบเพลงนี้มาก ( ไกล )

ไกล  Musketeers
เพลง – ไกล
ศิลปิน – Musketeers
ป่านนี้เธอจะอยู่ไหนเวลาที่ไกลกัน
และแม้มันจะนานนานเท่าไรที่เฝ้ารอเวลา
ก็รู้ดีว่าเธอเหงาและฉันก็ไม่ต่าง
แต่ยังเหงาสักเท่าไรแต่ข้างในยังคิดถึงเธอเมื่อเธอ
มองไปที่ฟ้าไกลที่ดวงดาวคู่นั้นดวงตาของฉันเฝ้ามอง
แสงที่เธอส่องผ่านเชื่อมความคิดของเราให้ถึงกัน
ดวงอาทิตย์นั้นยังอยู่ไกลดวงจันทร์
ดาวนับร้อยนับพันจะไกลกี่ปีแสง
แม้ไม่ได้เจอฉันคิดถึงเธอ
และเฝ้ารอวันเวลาให้พ้นไป
ตราบที่ท้องทะเลยังไกลจากภูเขา
และแม้ว่าเราจะไกลสักแค่ไหน
ฉันยังเหมือนเดิมสิ่งเหล่านั้นยังเหมือนเดิม
ยังเฝ้ารอเธอคนเดียวทั้งหัวใจ
สัญญาจากวันนั้นยังไม่ลืมเลือน
บอกว่าเราจะรอรอถึงวันที่ได้พบกันอีกครั้ง
แม้ที่อาจจะอาจเผลอหากใครทำเธอไหวหวั่น
ก็ขอให้เธอลองลองนึกดูที่ฉันพูดว่าให้เธอ
มองไปที่ฟ้าไกลที่ดวงดาวคู่นั้นดวงตาของฉันเฝ้ามอง
แสงที่เธอส่องผ่านเชื่อมความคิดของเราให้ถึงกัน
ดวงอาทิตย์นั้นยังอยู่ไกลดวงจันทร์
ดาวนับร้อยนับพันจะไกลกี่ปีแสง
แม้ไม่ได้เจอฉันคิดถึงเธอ
และเฝ้ารอวันเวลาให้พ้นไป
ตราบที่ท้องทะเลยังไกลจากภูเขา
และแม้ว่าเราจะไกลสักแค่ไหน
ฉันยังเหมือนเดิมสิ่งเหล่านั้นยังเหมือนเดิม
ยังเฝ้ารอเธอคนเดียวทั้งหัวใจ
เก็บมันเอาไว้รอจนถึงวันที่ได้พบกัน
ทุกเรื่องราวดีๆที่เราได้มีในวันนั้น
ดวงอาทิตย์นั้นยังอยู่ไกลดวงจันทร์
ดาวนับร้อยนับพันจะไกลกี่ปีแสง
แม้ไม่ได้เจอฉันคิดถึงเธอ
และเฝ้ารอวันเวลาให้พ้นไป
ตราบที่ท้องทะเลยังไกลจากภูเขา
และแม้ว่าเราจะไกลสักแค่ไหน
ฉันยังเหมือนเดิมสิ่งเหล่านั้นยังเหมือนเดิม
ยังเฝ้ารอเธอคนเดียวทั้งหัวใจ

ทานตะวัน(sunflower)

ทานตะวัน เป็นพืชปีเดียว (Annual plant) อยู่ในแฟมิลี Asteraceae มีฐานรองกลุ่มดอก (Inflorescence) ขนาดใหญ่ ลำต้นโตได้สูงถึง 3 เมตร ฐานรองกลีบดอกอาจกว้างได้ถึง 30 เซนติเมตร ชื่อ"ทานตะวัน"ถูกใช้อ้างอิงถึงพืชทั้งหมดในจีนัส Helianthus ด้วยเช่นกัน
ทานตะวัน เป็นพืชท้องถิ่นของอเมริกากลาง มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่ามีการปลูกดอกทานตะวันในประเทศเม็กซิโกตั้งแต่ประมาณ 2600 ปีก่อนคริสตกาล
ตำนานดอกทานตะวัน
ในเทพนิยายกรีกมีนางไม้ชื่อ Clytie ที่หลงรักเทพอพอลโล ซึ่งเป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ ได้เฝ้ามองอพอลโลทุกวันจนผมสีทองของเธอกลายเป็นกลีบดอกสีเหลืองและใบหน้ากลายเป็นดอกทานตะวัน ชื่อ Helianthus มาจากคำว่า helios ที่แปลว่าดวงอาทิตย์ กับคำว่า anthos ที่แปลว่า ดอกไม้

 การเข้ามาของดอกทานตะวันในประเทศไทย

ดอกทานตะวันเข้ามาในประเทศในในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยชาวเกาหลีนำมาปลูก

 ลักษณะนิสัยของคนที่ชอบดอกทานตะวันที่สุด

เป็นคนเชื่อมั่นในตัวเองมาก และถือดีในความรู้ความสามารถของตนไม่น้อย ชอบพึ่งพาตัวเองมากกว่าคนอื่น เป็นคนตั้งเป้าหมายในชีวิตสูง

 การใช้ประโยชน์

ทานตะวันเป็นพืชให้น้ำมันโดยสกัดจากเมล็ด น้ำมันดอกทานตะวันมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงสามารถนำไปใช้ในการฟอกหนังและประกอบอาหาร
ทานตะวันเป็นพืชที่มีบทบาทมากในการฟื้นฟูดิน ตัวอย่างเช่น ทานตะวันสะสมตะกั่วได้ 0.86 mg/kg เมื่อเลี้ยงแบบไฮโดรโพนิกส์ และส่งเสริมการย่อยสลายคาร์โบฟูรานได้ 46.71 mg/kg